การทำพินัยกรรม เป็นการแสดงความต้องการของบุคคล คือ เมื่อตนตายไปแล้วทรัพย์สินของตนจะตกทอดแก่ผู้ใด และการในเรื่องอื่นๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทรัพย์สินก็ได้ เช่น กำหนดว่าให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก , กำหนดเรื่องการทำศพ , ต้องการยกศพของตนให้โรงพยาบาล เป็นต้น อายุของผู้ที่สามารถทำพินัยกรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย คือ ต้องมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จึงจะทำพินัยกรรมได้ และถึงแม้บุคคลนั้นจะมีอายุจะมากสักเท่าไรก็ตาม ถ้าสติสัมปชัญญะยังดีอยู่ก็สามารถทำพินัยกรรมได้ตลอด อย่างไรก็ตามการทำพินัยกรรมกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้อย่างตายตัวว่า จะสามารถยกให้ได้แก่เฉพาะทายาทเท่านั้นผู้ทำพินัยกรรมยังสามารถยกสมบัติของตนให้กับผู้ใดก็ได้อีกด้วย เช่น ยกให้กับพยาบาลที่ดูแลตนตอนใกล้ตาย , ยกให้กับสาวใช้ในบ้าน หรืออาจยกให้กับนิติบุคคลอื่นๆ ก็ได้ เช่น ยกทรัพย์สินให้แก่วัด , ให้แก่มูลนิธิต่างๆ เป็นต้น แต่บางครั้งจิตใจของมนุษย์ก็สุดแสนจะหยั่งถึง โดยเฉพาะในเรื่องของเงินๆ ทองๆ คนตายก็ตายไปแล้ว ส่วนคนอยู่ก็จำเป็นต้องใช้เงินต่อไป จึงทำให้เกิดการทำ พินัยกรรมปลอมขึ้นมา เพื่อต้องการฮุบสมบัติไว้คนเดียว โดยการทำพินัยกรรมปลอมเป็นการปิดบังทรัพย์อย่างหนึ่ง นอกจากจะเป็นการตัดไม่ให้ผู้ที่ปลอมพินัยกรรมได้เงินแม้แต่บาทเดียวแล้ว ยังเป็นความผิดทางอาญาอีกด้วย ได้แก่ มาตรา 266 ผู้ใดทำการปลอมแปลงเอกสารดังต่อไปนี้… เอกสารราชการ พินัยกรรม ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ ตั๋วเงินหรือบัตรเงินฝาก มีโทษจำคุกตั้งแต่ […]
